image
  • Feb 02
  • 2019

โดเมนคืออะไร ขั้นตอนการจดโดเมน ทำอย่างไร

  • by Admin
  • 100
  • 70

โดเมนเนม ความหมายของนามสกุลเว็บไซต์และเอกสารที่ใช้จดโดเมน

.com ย่อมาจาก commercial หมายถึง การค้า บริษัท องค์กร
.net ย่อมาจาก network หมายถึง เครือข่าย
.org ย่อมาจาก organization หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไร
.biz ย่อมาจาก business หมายถึง องค์กร บริษัท ห้างหุ้นส่วน คล้ายกับ .com
.info ย่อมาจาก information หมายถึง ข้อมูลสารสนเทศ
.us ย่อมาจาก united states หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศนี้ด้วย
.co.th ย่อมาจาก commercial in Thailand หมายถึง บริษัทหรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
.ac.th ย่อมาจาก academic in Thailand หมายถึง โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.or.th ย่อมาจาก organization in Thailand หมายถึง องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
.in.th ย่อมาจาก individual in Thailand หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
.net.th ย่อมาจาก network in Thailand หมายถึง หน่วยงาน/องค์กรทำธุรกิจด้านเครือข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดโดเมนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน

1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้

ตัวอย่าง

เมื่อมีคำร้องขอ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชื่อโฮสต์ก็จะถูกร้องขอเช่นกัน เพื่อส่งไปยังผู้ใช้

การจดโดเมน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

การจดโดเมนต่างประเทศ
การจดโดเมนภายในประเทศ

การจดโดเมนต่างประเทศ

.COM ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
.NET ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
.ORG ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย

การจดโดเมนภายในประเทศ

.CO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
.OR.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
.AC.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
.GO.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
.IN.TH ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน

หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อ Domain

• ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
• สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
• ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
• ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
• ห้ามเว้นวรรคในชื่อ domain
 

ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง ยูอาร์แอล (URL) โดเมนเนม และ ซับโดเมน

ยูอาร์แอล: http://www.bizqsoft.com
โดเมนเนม: bizqsoft.com 
ซับโดเมน : subdomain.bizqsoft.com

โดยทั่วไป ไอพีแอดเดรสกับชื่อเซิร์ฟเวอร์มักจะแปลงกลับไปมาได้ 1 ไอพีแอดเดรสมักหมายถึง 1 ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบัน ความสนใจในเรื่องเว็บ ทำให้จำนวนเว็บไซต์มีมากกว่าเซิร์ฟเวอร์ โพรโทคอล HTTP จึงระบุว่าไคลเอนต์จะเป็นผู้บอกเซิร์ฟเวอร์ว่าชื่อใดที่ต้องการใช้ วิธีนี้ 1 เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ 1 ไอพีแอดเดรสจะใช้โดเมนเนมได้หลายชื่อยกตัวอย่าง เซิร์ฟเวอร์ที่มีไอพี 122.155.3.196 อาจจะใช้งานโดเมนเนมเหล่านี้ได้:

   example1.com
   example2.net
   example3.org

tags:

Google


ขั้นตอนการจดโดเมนและเช่าโฮสติ้ง การจดโดเมน คือ การจดทะเบียนเว็บไซต์ที่คุณตั้ง เช่น www.ชื่อเว็บไซต์ของคุณ.comโดเมน หรือ เว็บไซต์ เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไปหากคุณต้องการมีเว็บไซต์เป็นของคุณเองก่อนอื่นคุณต้องตรวจสอบโดเมนก่อน ว่าโดเมนนั้นว่างอยู่หรือไม่ หลังจากนั้นจึงทำการจดโดเมน เมื่อจดโดเมนแล้วจะใช้เวลาสำหรับอัพเดทข้อมูล หรือ DNS อัพเดท ประมาณ 3-24 ชม. (กรณีต่ออายุ จะไม่เกิน 48 ชม.) ถึงจะใช้งานโดเมนได้ การเช่าโฮสติ้ง คือ หลังจากที่ได้จดโดเมนเรียบร้อยแล้ว คุณจำเป็นต้องเช่าโฮสติ้ง เพื่อใช้ในการเก็บไฟล์เว็บไซต์และใช้งานอีเมล์ ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้ให้บริการจดทะเบียนเว็บไซต์หรือผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะสร้างบัญชีสำหรับใช้งานให้คุณ แล้วจะส่งรายละเอียดการใช้งานให้ทางอีเมล์หรือช่องทางอื่นๆ

 

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org

 

  • Share:

BizQSoft

Technical Team

Feb 02, 2019 - 04-30 PM

ติดต่อ Tel : 098-253-1845 Email : admin@bizqsoft.com